
ไทย ปิดล้อมเส้นทางอาชญากรรมลักลอบค้าตัวลิ่นข้ามชาติ
ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการป้องกันและปราบปรามการลักลอบค้าตัวลิ่นมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประเทศไทยซึ่งเดิมเป็นประเทศเส้นทางหลักของการขนตัวลิ่นจากอินโดนีเซีย มายังมาเลเซีย เพื่อขนส่งทางรถเข้าไทย ก่อนข้ามแม่น้ำโขงออกไป กัมพูชา เวียดนาม กับจีน ซึ่งเป็นตลาดบริโภคหลักได้กลายเป็นประเทศที่มีการป้องกันปราบปรามอย่างเข้มแข็ง
นายสมเกียรติ สุนทรพิทักษ์กุล ผู้อำนวยการ กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพืชป่า เปิดเผยว่า การดำเนินการปราบปรามการลักลอบค้าตัวนิ่มในประเทศไทยถือว่าได้ผล เพราะการลักลอบค้าตัวนิ่มในไทยลดลง ปริมาณการจับกุมจึงลดลง
นายสมเกียรติกล่าวว่า ลิ่นมีชีวิตส่วนใหญ่ถูกจับ รวบรวม มาจากประเทศอินโดนีเซีย และลักลอบขนผ่านชายแดนใต้ไปภาคอีสาน เพื่อต่อไปลาว เวียดนาม และจีน ส่วนการลักลอบค้าจากแอฟริกาอยู่ในรูปเกล็ดลิ่น ส่งผ่านทางเครื่องบิน
ราคาตัวลิ่นมีชีวิตในช่วง 2-3 ปีก่อน การลักลอบเข้ามาที่กรุงเทพฯ ราคากิโลกรัมละ 5,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่เคยล่อซื้อในภัตตาคารจีน แต่ตอนนี้ปิดไปแล้ว ส่วนราคาหากผ่านไปลาวได้จะเพิ่มขึ้น
การขนส่งเดิมใช้รถใหญ่บรรทุกหรือใช้รถปิกอัพหนึ่งคันบรรทุกได้ 100 กว่าตัว แต่ปัจจุบันการลักลอบขนเป็นกองทัพมด มีการดัดแปลง ขนใส่รถยนต์ส่วนบุคคล ครั้งละ 10-20 ตัว เพื่อไม่ให้ตรวจ แต่รอดจากการจับกุมยากเพราะตัวลิ่นกลิ่นแรง
ทางด้านแหล่งข่าวในพื้นที่ภาคใต้ให้ข้อมูลว่า การลักลอบนำตัวลิ่นผ่านด่านศุลกากรมาจากมาเลเซียซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ของตัวนิ่ม ส่วนใหญ่จะผ่านด่านศุลกากรในจังหวัดสงขลา ได้แก่ ด่านศุลกากรสะเดา ที่ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา ด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ ที่ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดาเช่นกัน และด่านศุลกากรบ้านประกอบ อำเภอนาทวี
แหล่งข่าวให้ข้อมูลต่อว่า การลักลอบนำเข้าตัวนิ่มผ่านด่านชายแดนภาคใต้เป็นกระบวนการใหญ่ มีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ทั้งในฝั่งมาเลเซีย ฝั่งไทย ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตำรวจของทั้งสองประเทศ เจ้าหน้าที่กรมศุลกากร เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และมีเถ้าแก่หรือหุ้นส่วนฝั่งไทยเป็นผู้รับซื้อในกระบวนการ
การขนส่งส่วนใหญ่จะใส่ไว้ในท้ายรถยนต์ส่วนตัว และผู้ที่รับจ้างทำหน้าที่ขนก็จะขับรถยนต์แยกกันมาตามแต่ละด่าน เมื่อมาถึงฝั่งไทยจะมีเถ้าแก่มารับไปอีกทอดเพื่อส่งไปจีนตามที่ได้มีคำสั่งซื้อมา ในราคาประมาณ 3,000 บาทต่อ 1 กิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาในไทย แต่หากส่งถึงจีนราคาก็จะสูงขึ้นไปถึง 20,000 บาทต่อกิโลกรัม
นายสมเกียรติกล่าวว่า ในช่วงหลังเมื่อการปราบปรามเข้มแข็งมากขึ้น ปกป้องได้ดี การลักลอบขนก็เปลี่ยนเส้นทางขน ไม่ใช่ประเทศ ไทย เพราะการขนผ่านไทยก็จะถูกจับตลอด

Somkiat Soontornpitakkool DG Division of Wild Fauna and Flora Protection. Photo: ThaiPublica
“เราก็ไม่อาจจะพูดได้ว่าการลักลอบผ่านประเทศไม่มีเลย แต่เบาบางลงมาก และการลักลอบขนส่งอาจจะเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อน จับแต่ละครั้งได้ประมาณ 300-400 ตัว เปลี่ยนไปรูปกองทัพมดมาครั้งละ 4-5 ตัว ข้ามชายแดนมาแล้วรวบรวมแถวอีสานเพื่อส่งต่างประเทศ”
ในช่วง 3-4 ปีมีการจับกุมตัวลิ่นได้ที่จ.สุราษฏร์ธานี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากแม้ผ่านชายแดนใต้มาได้ แต่ก็ไม่สามารถผ่านด่านตรวจที่กองไซเตสที่ตั้งเป็นระยะๆ ได้ บางครั้งก็ดักจับปลายทางแถวอีสานเพื่อไปลาว ติดแม่น้ำโขง ลักลอบออกไปได้หมด ทั้งจังหวัดหนองคาย นครพนม
เพื่อการปราบปรามต่อเนื่องไทยจึงได้ใช้วิธีการสร้างความร่วมมือกับประเทศใกล้เคียง ไลาวและมาเลเซีย มีการประชุมหลายระดับ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งจัดการฝึกอบรมเสริมความรู้
“ในอาเซียนเราค่อนข้างจะเป็นผู้นำในเรื่องนี้ เราพยายามใช้อาเซียนเป็นเวทีการแก้ไขปัญหาทั้งหมด”นายสมเกียรติกล่าว
สำหรับ โทษของการลักลอบนำเข้าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มีโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท จำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่กฎหมายใหม่จะมีผลในเดือนพฤศจิกายนนี้ จะเพิ่มโทษปรับเป็น 1 ล้านบาทและโทษจำคุกเป็น 10 ปี
ด้านนายชัยยุทธ คำคูณ ที่ปรึกษาด้านศุลกากร กรมศุลกากร เปิดเผยว่า กรมศุลกากรซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ต้องบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าและพันธุ์พืช หรือพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างเข้มงวดในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพันธุ์พืชและได้ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการตามอนุสัญญาไซเตส ตามที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก

Chaiyut Kumkun Principal Advisor on Custom Control Department. Photo: ThaiPublica
นายชัยยุทธกล่าวว่า ประเทศไทยไม่ใช่แหล่งบริโภคตัวลิ่น เป็นแค่ทางผ่าน เนื่องจากมีภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ตรงกลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ใกล้กับประเทศปลายทาง ลาว เวียดนาม และจีน อยู่ระหว่างประเทศต้นทางกับประเทศปลายทาง
แหล่งบริโภคตัวลิ่นและเกล็ดลิ่นมาจากประเทศปลายทาง คือ กัมพูชา เวียดนาม จีน เพราะมีความเชื่อว่าเอาไปทำยาบำรุงร่างกายได้ ราคาเกล็ดลิ่นค่อนข้างสูง ราวกิโลกรัมละประมาณ 10,000-30,000 บาท เพราะตัวลิ่น 2-3 ตัวได้เกล็ด 1 กิโลกรัม
การดำเนินการลักลอบน้อยลงตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 จนถึง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2562 กรมศุลกากรจับตัวลิ่นได้ทั้งหมด 861 ตัว และเมื่อรวมกับการจับกุมเกล็ดลิ่นแล้ว น้ำหนักของการจับกุมทั้งหมดทั้งตัวลิ่น และเกล็ดลิ่นแห้งรวม 8,690 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 107.35 ล้านบาท

Chiraprapa Koonlachoti
Related Articles
- China, MyanmarA truck near the Burmese-Chinese border. Credit: Patrick Boehler Today, we’re extremely proud to share episode one of Sustainable Asia’s podcast…
- ChinaBy Xu Jiaming, on February 9, 2020Researchers in Guangzhou said pangolins are a possible “intermediate host” of the novel coronavirus that has killed more than 630…
- Global, Indonesia, MyanmarBy Patrick Boehler, on February 5, 2020We released our global investigative report to the public domain under the Creative Commons’ BY-NC-ND license, making translating and republishing the report simple…
Latest Articles
- China, Myanmar
- Global, Indonesia, MyanmarBy Patrick Boehler, on February 5, 2020
Latest Tweets